หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นักฟุตบาลระดับชิาต


ประวัติ

นักฟุตบอลไทยและผู้ฝึกสอน ชุดที่ลงแข่งขันในเอเชียนเกมส์ที่กาตาร์ (พ.ศ. 2549)
ทีมก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ในนาม คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม และเล่นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก (พบกับทีมฝ่ายยุโรป) ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม ในปีนั้น จนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ โดยลงเล่นในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศสเพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2492 เมื่อสยามกลายเป็นประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956ที่เมลเบิร์น โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากพบกับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (ความพ่ายแพ้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) และไม่ผ่านเข้ารอบก่อนชิงชนะเลิศ โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และทีมชาติโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[1] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ นักฟุตบอลในชุดโอลิมปิกนั้น ไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนีเพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ประเทศไทยคว้าเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเรียกว่าซีเกมส์) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จนถึง พ.ศ. 2552 ประเทศไทยชนะเลิศการแข่งขันทุกๆสองปีรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง
ทีมไทยได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อนอีกครั้งในปีพ.ศ. 2511 โดยแพ้ต่อทีมชาติบัลแกเรีย 0-7, ทีมชาติกัวเตมาลา 1-4 และทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย 0-8 ตกรอบแรกในการแข่งขัน ซึ่งผู้ชนะในคราวนี้ คือทีมชาติฮังการี ได้เหรียญทองไปครอง ซึ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิคเป็นครึ่งสุดท้ายจนถึง พ.ศ. 2552
ปีสมาคม
2459ก่อตั้ง
2468ฟีฟ่า
2500เอเอฟซี
2537เอเอฟเอฟ
ในปี 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอล เอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพครั้งที่ 5 โดยในการแข่งขันนี้ ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 โดยยิงลูกโทษชนะทีมชาติกัมพูชา 5 ประตูต่อ 3 ภายหลังจากเสมอกัน 2 ต่อ 2 ซึ่งในการแข่งขันนี้ ทีมชาติอิหร่าน ชนะเลิศ และทีมชาติเกาหลีใต้ ได้รางวัลรองชนะเลิศตามลำดับ
ในปี 2519 ประเทศไทยได้แชมป์คิงส์คัพครั้งแรก โดยเป็นแชมป์ร่วมกับ ทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพอีกหลายครั้งรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งด้วยกัน
สำหรับการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่สามารถที่จะชนะเลิศได้ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2533 เช่นเดียวกับ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 และ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้นที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2545และครั้งล่าสุดเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นที่ โดฮา ในปี พ.ศ. 2549 ทีมชาติไทยก็เป็นทีมเดียวในย่านอาเซียนที่ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ (8 ทีมสุดท้าย) ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่มซี
ในปี 2537 ไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน กับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลก มาแข่งขันกับในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่อังกฤษ[2]) และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ และในปี 2551 ไทยตกรอบฟุตบอลรอบคัดเลือก รอบ 20ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับทีมอย่าง ญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยไทยแข่ง6นัด ไม่ชนะใครเลย แพ้5เสมอ1 ทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นไม่นาน ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษ ก็เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ไทย ก็พลาดแชมป์ อาเซียน คัพ โดยการแพ้เวียดนามรวมผลสองนัด 3-2 และยังพลาดคิงส์ คัพ อีกรายการหนึ่งโดยดวลจุดโทษแพ้ เดนมาร์ก จนถึงช่วงเดือนกันยายน ปี 2552 ปีเตอร์ รีด ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากอนาคตที่ไม่แน่นอนในการคุมทีมชาติเพราะรีด มีข่าวว่าจะไปทำงานที่สโมสร สโต๊ค ซิตี้ โดยเป็นผู้ช่วยของ โทนี่ พูลิส ผู้จัดการทีมสโต๊ค ซิตี้
ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทีมชาติไทยแพ้ต่อ 2-0 สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้ ในวันสุดท้ายของของฟ๊อกซ์ทัวร์ที่ประเทศไทย

[แก้]ข้อมูลทั่วไป

ราชมังคลากีฬาสถาน
ชุดเหย้าปี 2553-2554
ชุดเหย้ารูปแบบดั้งเดิม

[แก้]สนามเหย้า

ดูบทความหลักที่ ราชมังคลากีฬาสถาน
ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2541 สำหรับใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ปัจจุบันมีความจุทั้งสิ้น 65,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ที่สนามกีฬาหัวหมาก ภายในที่ทำการของการกีฬาแห่งประเทศไทย แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย ตั้งแต่เริ่มเปิดใช้จนถึงปัจจุบัน
สนามอื่นๆ ที่สามารถใช้งานได้

[แก้]ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน

แต่เดิมชุดแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดที่หนึ่งประกอบด้วย เสื้อสีแดง กางเกงสีแดง และถุงเท้าสีแดง ส่วนชุดที่สองประกอบด้วย เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงสีน้ำเงิน และ ถุงเท้าสีน้ำเงิน อนึ่ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ทีมชาติไทยเปลี่ยนชุดที่หนึ่ง มาเป็นเสื้อสีเหลือง กางเกงสีเหลือง และถุงเท้าสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ แต่หลังจากการประชุมของสมาคมฟุตบอลเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 นายองอาจ ก่อสินค้า ได้ออกมายืนยันว่า ทีมชาติไทยจะขอทำเรื่องไปถึงฟีฟ่าเพื่อเปลี่ยนสีเสื้อกลับมาเป็นสีแดงอีกครั้ง หลังจากที่มีความเชื่ออกมาว่าสีเหลีองไม่ถูกโฉลกกับฟุตบอลทีมชาติไทย .

[แก้]ประวัติการแข่งขัน

[แก้]ฟุตบอลโลก 2010

จากการจับฉลากสำหรับรอบที่ 1 และ รอบที่ 2 ในการแข่งขันรอบคัดเลือกโซนเอเชีย เพื่อหาตัวแทนไปแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยในรอบที่ 1 ทีมชาติไทยสามารถเอาชนะมาเก๊า ด้วยผลประตูรวม 13-2 และต้องพบกับเยเมนในรอบที่ 2 โดยทีมชาติไทยสามารถเอาชนะด้วยผลประตูรวม 2-1 โดยทีมชาติไทยถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับญี่ปุ่นบาห์เรน, และ โอมาน ในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก

[แก้]เอเอฟซีรอบที่ 3 : กลุ่ม 2

ทีมเล่นชนะเสมอแพ้ได้เสียรวมแต้ม
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น6411123+913
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน632175+211
ธงชาติโอมาน โอมาน622257−28
ธงชาติไทย ไทย6015514−91
 ธงชาติของบาห์เรนธงชาติของญี่ปุ่นธงชาติของโอมานธงชาติของไทย
บาห์เรน ธงชาติบาห์เรน1 – 01 – 11 – 1
ญี่ปุ่น ธงชาติญี่ปุ่น1 – 03 – 04 – 1
โอมาน ธงชาติโอมาน0 – 11 – 12 – 1
ไทย ธงชาติไทย2 – 30 – 30 – 1

[แก้]ฟุตบอลโลก 2014

ทีมชาติไทยชุดคัดฟุตบอลโลก 2014
จากการจับฉลากสำหรับรอบที่ 2 ในการแข่งขันรอบคัดเลือกโซนเอเชีย เพื่อหาตัวแทนไปแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล โดยในรอบที่2ทีมชาติไทยลงเล่นนัดแรกที่นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยมชนะไป 1-0และบุกไปเยือนด้วยผลเสมอ 2-2 สามารถเอาชนะปาเลสไตน์ ด้วยผลประตูรวม 3-2 โดยทีมชาติไทยถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับออสเตรเลียซาอุดิอาระเบีย, และ โอมาน ในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก
โดยทีมชาติไทยชุดวินฟรีด เชเฟอร์ มีลุ้นกว่าทุกชุดของทีมชาติไทยที่จะผ่านเข้ารอบ10ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่รอบคัดเลือกฟุบอลโลก 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่น โดยวินฟรีด เชเฟอร์ ทำสิ่งที่โค้ชทีมชาติคนก่อนๆไม่เคยทำ เช่น ความขยันไปดูฟุตบอลลีกในประเทศทุกคู่ ความอดทน วางรากฐานให้ทีมชาติไทย และอีกมากมาย
ซึ่งผลของการเข้มงวดกับการฝึกซ้อมเตรียมตัวลงแข่งขัน ทำให้ผลงานในการลงเล่นรอบคัดเลือกนัดแรก ที่บุกไปแพ้ออสเตรเลีย 1-2 ชนิดที่น่าจะเก็คะแนนกลับบ้านได้ ก่อนที่ในเกมนัดต่อมาจะเอาชนะโอมาน 3-0 เรียกศรัทธาจากแฟนบอลกลับคืนมา และในเกมนัดที่สาม ซึ่งทีมชาติไทยสามารถเปิดราชมังคลากีฬาสถาน ยันเสมอซาอุดิอารเบียได้สำเร็จ 0-0 แม้แฟนบอลจะผิดหวังกบัสกอร์ที่ออกมา เนื่องจากกระแส ณ ขณะนั้นที่มองว่าซาอุดิอารเบียกำลังฟอร์มตก แต่หากไปดูสถิติการพบกันก่อนหน้านั้นที่ไทยแพ้ซาอุดิอารเบีย 10 จาก 11 นัด ย่อมแสดงให้เห็นว่าเกมนี้ ทีมชาติไทยทำผลงานได้ตามเป้าหมายแล้ว
การเก็บคะแนนได้ถึง 4 คะแนน จาก 3 นัด ในกลุ่มที่มีแต่ทีมเต็งเข้ารอบทั้งสิ้นนั้น ทำให้ทีมชาติไทยได้รับการจับตามองว่าจะสามารถสอดแทรกขึ้นมาแย่งตั๋วเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ แต่ในเกมนัดที่สี่ ซึ่งถือว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญต่อการผ่านเข้ารอบคัดเลือกต่อไป ไทยบุกไปแพ้ซาอุดิอารเบีย 0-3 โดยในช่วงท้ายเกมส์ นักฟุตบอลทั้งสองทีมมีเหตุกระทบกระทั่งกันด้วย ทำให้เกมนัดที่ห้า ซึ่งไทยกลับมาเปิดสนามศุภชลาศัย พบออสเตรเลีย จึงถือว่ามีความหมายอย่างมาก โดยเกมการแข่งขัน ทีมชาติไทยเล่นได้เหนือกว่าออสเตรเลียเล็กน้อย แต่ไม่สามารถทำประตูออสเตรเลียได้ จนกระทั่งมาถูกทีมเยือนทำประตูในครึ่งหลัง เป็นผลให้ทีมชาติไทยแพ้ไปในที่สุด 0-1 โอกาสผ่านเข้าไปคัดเลือก 10 ทีมสุดท้ายเลือนลางเต็มที แต่หลังจบเกมนัดนั้น เพียงไม่กี่ขั่วโมง ทีมชาติไทยก็มีข่าวดีเมื่อโอมานสามารถบุกไปเสมอซาอุดิอารเบีย0-0 ทำให้ตารางคะแนนที่ออกมาหลังจบเกมนัดที่ห้า ออสเตรเลียผ่านเข้ารอบไปแล้ว แต่อีกสามทีมที่เหลือยังมีคะแนนเบียดกัน และยังมีโอกาสเข้ารอบ ด้วยกันทั้งหมด
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ทีมชาติไทยภายแพ้ทีมชาติโอมาน ไป 2 – 0 ขณะที่ออสเตรเลียชนะซาอุดิอารเบียไป 4 – 2 ทำให้ทีมชาติไทยจะตกรอบคัดเลือกเป็นที่ 4 ของกลุ่ม
ทีมแข่งชนะเสมอแพ้ได้เสียผลต่างคะแนน
ออสเตรเลีย6501135+815
โอมาน622236-38
ซาอุดิอารเบีย613267-16
ไทย611448-44

[แก้]โปรแกรมการแข่งขัน

วันที่ทีมผลประตูรายการสถานที่
23 กรกฎาคม 2554Palestinian flag ปาเลสไตน์ชนะ1-02014 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกธงชาติของไทย นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยมบุรีรัมย์ประเทศไทย
28 กรกฎาคม 2554Palestinian flag ปาเลสไตน์เสมอ2-22014 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกPalestinian flag สนามกีฬาแห่งชาติ ปาเลสไตน์อัล-รามปาเลสไตน์
2 กันยายน 2554ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลียแพ้2-12014 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกธงชาติของออสเตรเลีย สนามซันคอร์ปเมืองบริสเบนประเทศออสเตรเลีย
6 กันยายน 2554ธงชาติโอมาน โอมานชนะ3-02014 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกธงชาติของไทย ราชมังคลากีฬาสถานกรุงเทพมหานครประเทศไทย
11 ตุลาคม 2554ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบียเสมอ0-02014 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกธงชาติของไทยราชมังคลากีฬาสถานกรุงเทพมหานครประเทศไทย
11 พฤศจิกายน 2554ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบียแพ้3-02014 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกธงชาติของซาอุดีอาระเบียสนามกีฬาแห่งชาติ คิงฟาฮัดริยาดประเทศซาอุดิอาระเบีย
15 พฤศจิกายน 2554ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลียแพ้0-12014 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกธงชาติของไทยกรีฑาสถานแห่งชาติ,สนามศุภชลาศัย,กรุงเทพมหานครประเทศไทย
29 กุมภาพันธ์ 2555ธงชาติโอมาน โอมานแพ้2-02014 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือกธงชาติของโอมานสนามศูนย์กีฬา สุลต่าน คาบูส,มัสกัต,ประเทศโอมาน

[แก้]สถิติฟุตบอลโลก

ดูบทความหลักที่ ทีมชาติไทยในฟุตบอลโลก
ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
ปีผลอันดับลงเล่นชนะเสมอ*แพ้ประตูได้ประตูเสียลงเล่นชนะเสมอ*แพ้ประตูได้ประตูเสีย
ธงชาติของอุรุกวัย 1930 -
ธงชาติของเม็กซิโก 1970
ไม่ได้เข้าร่วม-------------
ธงชาติของเยอรมนีตะวันตก 1974ไม่ผ่านเข้ารอบ-------4004013
ธงชาติของอาร์เจนตินา 1978ไม่ผ่านเข้ารอบ-------4103812
ธงชาติของสเปน 1982ไม่ผ่านเข้ารอบ-------3012313
ธงชาติของเม็กซิโก 1986ไม่ผ่านเข้ารอบ-------612344
ธงชาติของอิตาลี 1990ไม่ผ่านเข้ารอบ-------6105214
Flag of the United States 1994ไม่ผ่านเข้ารอบ-------8404137
ธงชาติของฝรั่งเศส 1998ไม่ผ่านเข้ารอบ-------411256
ธงชาติของเกาหลีใต้ธงชาติของญี่ปุ่น 2002ไม่ผ่านเข้ารอบ-------145542520
ธงชาติของเยอรมนี 2006ไม่ผ่านเข้ารอบ-------6213910
ธงชาติของแอฟริกาใต้ 2010ไม่ผ่านเข้ารอบ-------103252017
ธงชาติของบราซิล 2014ไม่ผ่านเข้ารอบ-------522174
ธงชาติของรัสเซีย 2018ยังไม่แข่งขัน-------
ธงชาติของกาตาร์ 2022ยังไม่แข่งขัน-------
รวม-------6518123589116

[แก้]ประวัติในการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิก

(ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535)
สถิติในกีฬาโอลิมปิก
ปีรอบอันดับลงเล่นชนะเสมอแพ้ประตูได้ประตูเสีย
ธงชาติของฝรั่งเศส 1900 to
ธงชาติของฟินแลนด์ 1952
ไม่เข้าร่วม-------
ธงชาติของออสเตรเลีย 1956รอบที่ 111/11100109
ธงชาติของอิตาลี 1960ไม่เข้าร่วม-------
ธงชาติของญี่ปุ่น 1964ไม่ผ่านเข้ารอบ-------
ธงชาติของเม็กซิโก 1968รอบที่ 116/163003119
ธงชาติของเยอรมนี 1972 to
ธงชาติของเกาหลีใต้ 1988
ไม่ผ่านเข้ารอบ-------
รวม2/19-4004128
ประวัติในการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิก
ปีรอบคะแนนผลการแข่งขัน
1956รอบที่ 1ธงชาติไทย ไทย 0 - 9 Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักรแพ้
1968รอบที่ 1ธงชาติไทย ไทย 0 - 7 ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรียแพ้
รอบที่ 1ธงชาติไทย ไทย 1 - 4 ธงชาติกัวเตมาลา กัวเตมาลาแพ้
รอบที่ 1ธงชาติไทย ไทย 0 - 8 ธงชาติเชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกียแพ้

[แก้]สถิติเอเอฟซี เอเชียนคัพ

เอเชียนคัพ นัดแข่งขันกับโอมาน ในปี 2007
เอเชียนคัพรอบสุดท้ายเอเชียนคัพรอบคัดเลือก
ปีผลการแข่งขันอันดับลงเล่นชนะเสมอ*แพ้ประตูได้ประตูเสียลงเล่นชนะเสมอ*แพ้ประตูได้ประตูเสีย
ธงชาติของฮ่องกง 1956 to ธงชาติของอิสราเอล 1964ไม่ได้เข้าร่วม-------------
แม่แบบ:Country data Iran (1964)1968ไม่ผ่านรอบคัดเลือก-------420254
ธงชาติของไทย 1972อันดับ 3503269
แม่แบบ:Country data Iran (1964)1976ถอนทีมหลังจากผ่านการคัดเลือก-------430182
ธงชาติของคูเวต 1980ไม่ผ่านรอบคัดเลือก-------5302113
ธงชาติของสิงคโปร์ 1984ไม่ผ่านรอบคัดเลือก-------5302910
ธงชาติของกาตาร์ 1988ไม่ผ่านรอบคัดเลือก-------5122512
ธงชาติของญี่ปุ่น 1992รอบที่ 1302115220031
Flag of the United Arab Emirates 1996รอบที่ 130032136420315
ธงชาติของเลบานอน 2000รอบที่ 13021246411138
Flag of the People's Republic of China 2004รอบที่ 13003196303107
ธงชาติของอินโดนีเซียธงชาติของมาเลเซียธงชาติของไทยธงชาติของเวียดนาม 2007รอบที่ 1311135
ธงชาติของกาตาร์ 2011ไม่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก------
รวมดีที่สุด: อันดับ 3201811154543255139552

[แก้]สถิติเอเชียนเกมส์

(ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2545)
เอเชียนเกมส์
ปีรอบลงเล่นชนะเสมอแพ้ประตูได้ประตูเสีย
ธงชาติของอินเดีย 1951 ถึง
ธงชาติของอินโดนีเซีย 1962
ไม่ได้เข้าร่วม
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของไทย 1966
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
1
1
2
5
8
ธงชาติของไทย 1970
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
1
2
1
6
6
ธงชาติของอิหร่าน 1974
รอบที่ 1
2
0
0
2
2
4
ธงชาติของไทย 1978
รอบที่ 2
5
2
0
3
6
12
ธงชาติของอินเดีย 1982
รอบที่ 1
3
1
0
2
3
5
ธงชาติของเกาหลีใต้ 1986
รอบที่ 1
4
1
1
2
8
4
Flag of the People's Republic of China 1990
รอบรองชนะเลิศ
6
3
1
2
5
3
ธงชาติของญี่ปุ่น 1994
รอบที่ 1
4
0
1
3
8
12
ธงชาติของไทย 1998
รอบรองชนะเลิศ
8
4
1
3
12
10
รวม
ดีที่สุด: รอบรองชนะเลิศ
40
13
7
20
55
64

[แก้]ประวัติการแข่งขันในอาเซียน

[แก้]สถิติอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ

การแข่งขันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อไทเกอร์คัพ
อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
ปีรอบลงเล่นชนะเสมอแพ้ประตูได้ประตูเสีย
ธงชาติของสิงคโปร์ 1996
ชนะเลิศ
6
5
1
0
18
3
ธงชาติของเวียดนาม 1998
อันดับ 4
5
2
2
1
10
10
ธงชาติของไทย 2000
ชนะเลิศ
5
5
0
0
15
3
ธงชาติของอินโดนีเซีย ธงชาติของสิงคโปร์ 2002
ชนะเลิศ
5
2
2
1
13
7
ธงชาติของมาเลเซีย ธงชาติของเวียดนาม 2004
รอบที่ 1
4
2
1
1
13
4
ธงชาติของสิงคโปร์ ธงชาติของไทย 2007
รองชนะเลิศ
7
3
3
1
10
4
ธงชาติของอินโดนีเซีย ธงชาติของไทย 2008
รองชนะเลิศ
7
5
1
1
16
4
รวม
ดีที่สุด: ชนะเลิศ
39
24
10
5
95
35

[แก้]สถิติซีเกมส์

(ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2544)
ซีเกมส์
ปีรอบลงเล่นชนะเสมอแพ้ประตูได้ประตูเสีย
ธงชาติของไทย 1959
รองชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของสหภาพพม่า 1961
อันดับ 3
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของมาเลเซีย 1965
ชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของไทย 1967
อันดับ 3
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของสหภาพพม่า 1969
รองชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของมาเลเซีย 1971
อันดับ 3
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของสิงคโปร์ 1973
รอบที่ 1
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของไทย 1975
ชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของมาเลเซีย 1977
รองชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของอินโดนีเซีย 1979
อันดับ 3
-
-
-
-
-
-
Flag of the Philippines 1981
ชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของสิงคโปร์ 1983
ชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของไทย 1985
ชนะเลิศ
4
3
1
0
17
1
ธงชาติของอินโดนีเซีย 1987
อันดับ 3
4
2
1
1
7
3
ธงชาติของมาเลเซีย 1989
รอบรองชนะเลิศ
4
1
2
1
5
3
Flag of the Philippines 1991
รองชนะเลิศ
4
2
1
1
10
2
ธงชาติของสิงคโปร์ 1993
ชนะเลิศ
6
6
0
0
18
6
ธงชาติของไทย 1995
ชนะเลิศ
6
5
1
0
19
2
ธงชาติของอินโดนีเซีย 1997
ชนะเลิศ
6
4
2
0
15
3
ธงชาติของบรูไน 1999
ชนะเลิศ
6
5
1
0
24
1
ธงชาติของมาเลเซีย 2001
ชนะเลิศ
0
1
ธงชาติของเวียดนาม 2003
ชนะเลิศ
0
1
Flag of the Philippines 2005
ชนะเลิศ
0
1
ธงชาติของไทย 2007
ชนะเลิศ
0
1
ธงชาติของลาว 2009
รอบที่ 1
-
-
-
-
-
-
ธงชาติของอินโดนีเซีย 2011
รอบที่ 1
-
-
-
-
-
-
รวม
ดีที่สุด: ชนะเลิศ
40
28
9
3
115
21

[แก้]เกียรติยศอื่นๆ

[แก้]ผลงานชุดเยาวชน

[แก้]รายชื่อผู้ฝึกสอน

ตั้งแต่ (พ.ศ. 2503–ปัจจุบัน)
ชื่อสัญชาติระยะเวลาควบคุมทีมสถิติผลงาน
นัดชนะเสมอแพ้ชนะ %
ประเทียบ เทศวิศาลธงชาติของไทย2508-2519 ? ? ? ? ?
เพเทอร์ ชนิทเกอร์ธงชาติของเยอรมนี2519-2521 ? ? ? ? ?
แวร์เนอร์ บิคเคลเฮาพท์ธงชาติของเยอรมนี2522 ? ? ? ? ?
ประวิทย์ ไชยสามธงชาติของไทย2524-2526 ? ? ? ? ?
ยรรยง ณ หนองคายธงชาติของไทย2526-2528 ? ? ? ? ?
บัวร์กฮาร์ด ซีเซอธงชาติของเยอรมนี2528-2529 ? ? ? ? ?
คาร์ลอส โรแบร์โต คาร์วัลโญธงชาติของบราซิล2532-2534 ? ? ? ? ?คิงส์คัพ 1989
อันดับที่ 4 ใน เอเชียนเกมส์ 1990
ปีเตอร์ สตัปป์ธงชาติของเยอรมนี2535-25379621 ?
Worawit Sumpachanyasathitธงชาติของไทย2537 ?23 ? ?
ชัชชัย พหลแพทย์ธงชาติของไทย2537 ? ? ? ? ?เอเชียนเกมส์ 1994
อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ธงชาติของไทย25391593360.0
ธวัชชัย สัจจกุลธงชาติของไทย2539 ? ? ? ? ?อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 1996
วิทยา เลาหกุลธงชาติของไทย2540-254124109541.7
ปีเตอร์ วิธธงชาติของอังกฤษ2541-254510146253045.5อันดับที่ 4 ใน เอเชียนเกมส์ 1998
อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2000
คิงส์คัพ 2000
อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2002
อันดับที่ 4 ใน เอเชียนเกมส์ 2002
รอบ 10 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย
คาร์ลอส โรแบร์โต คาร์วัลโญธงชาติของบราซิล2546-25471362546.1
ชัชชัย พหลแพทย์ธงชาติของไทยมิถุนายน - สิงหาคม 2547821525.0
ซิกกี เฮลด์ธงชาติของเยอรมนีสิงหาคม 2547-25481144336.4
ชาญวิทย์ ผลชีวินธงชาติของไทย2548-มิถุนายน 25513918111046.1คิงส์คัพ 2006
T&T Cup 2006
คิงส์คัพ 2007
ปีเตอร์ รีดธงชาติของอังกฤษกันยายน 2551-กันยายน 25521584353.3T&T Cup 2008
เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008 (รองแชมป์)
ไบรอัน ร็อบสันธงชาติของอังกฤษกันยายน 2552 - มิถุนายน 25541874738.8
วินเฟรด เชเฟอร์ธงชาติของเยอรมนีกรกฎาคม 2554 - ปัจจุบัน13454

[แก้]หัวหน้าทีม

หมายเลขเสื้อผู้เล่นดำรงตำแหน่ง
6ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน
7ดัสกร ทองเหลาพ.ศ. 2551-พ.ศ. 2552
10ตะวัน ศรีปานพ.ศ. 2550-พ.ศ. 2551
12
17
นิรุจน์ สุระเสียง พ.ศ. 2549
1
5
กิตติศักดิ์ ระวังป่า พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2551
6รุ่งโรจน์ สว่างศรีพ.ศ. 2547-พ.ศ. 2548
8เทิดศักดิ์ ใจมั่นพ.ศ. 2546
12สุรชัย จิระศิริโชติพ.ศ. 2545
13เกียรติศักดิ์ เสนาเมืองพ.ศ. 2544-พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547, พ.ศ. 2550
5โชคทวี พรมรัตน์พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2543, พ.ศ. 2546
7นที ทองสุขแก้วพ.ศ. 2539-พ.ศ. 2541
14วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์พ.ศ. 2538
9ปิยะพงษ์ ผิวอ่อนพ.ศ. 2536

[แก้]ผู้ทำประตูสูงสุด

สถิติ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553[3]
อันดับผู้เล่นจำนวนประตูช่วงเวลาที่เล่น
1ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน1032524-2540 (FIFA 15)
2เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง772536-2550
3นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์552510-2522
4เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง422514-2524
5วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์322528-2538
6ศรายุทธ ชัยคำดี302546-
7วรวุฒิ ศรีมะฆะ292539-2542
8ดาวยศ ดารา282518-2529
9สุทธา สุดสะอาด252521-ไม่ทราบปี
9ชลอ หงษ์ขจร2522-2530
9เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์2538-2540
10ประพนธ์ ตันตริยานนท์232514-ไม่ทราบปี
* ผู้เล่นที่มีชื่อเป็นอักษรตัวหนาคือผู้เล่นที่ยังเล่นอยู่ในปัจจุบัน

[แก้]ผู้เล่น

[แก้]ชุดปัจจุบัน

รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวเพื่อเข้าแข่งขันกระชับมิตร พบกับ มัลดีฟส์ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และ ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก พบกับ โอมาน ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (จำนวนนัด และ ประตู ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) [1]
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่นวันเกิด (อายุ)ลงเล่นประตูสโมสร
GKกวิน ธรรมสัจจานันท์26 มกราคม พ.ศ. 2533 (22 ปี)150ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
GKสินทวีชัย หทัยรัตนกุล23 มีนาคม พ.ศ. 2525 (30 ปี)670ธงชาติของไทย ชลบุรี
GKศิวรักษ์ เทศสูงเนิน20 เมษายน พ.ศ. 2527 (28 ปี)70ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
DFสุทธินันท์ พุกหอม29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (24 ปี)152ธงชาติของไทย ชลบุรี
DFอนุชา กิจพงษ์ศรี23 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (29 ปี)100ธงชาติของไทย ชลบุรี
DFนิเวส ศิริวงศ์(กัปตัน)18 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 (34 ปี)1013ธงชาติของไทย พัทยา ยูไนเต็ด
DFสมภพ นิลวงศ์28 มีนาคม พ.ศ. 2526 (29 ปี)10ธงชาติของไทย พัทยา ยูไนเต็ด
DFปิยะชาติ ถามะพันธ์5 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 (26 ปี)50ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
DFเจษฎา จิตสวัสดิ์5 สิงหาคม พ.ศ. 2523 (31 ปี)310ธงชาติของไทย บีอีซี เทโรศาสน
DFสุรีย์ สุขะ27 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (29 ปี)673ธงชาติของไทย ชลบุรี
MFดัสกร ทองเหลา30 ธันวาคม พ.ศ. 2526 (28 ปี)8411ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
MFสุเชาว์ นุชนุ่ม17 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (29 ปี)566ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
MFสุธี สุขสมกิจ5 มิถุนายน พ.ศ. 2521 (33 ปี)6919ธงชาติของไทย บางกอกกล๊าส
MFสุมัญญา ปุริสาย5 ธันวาคม พ.ศ. 2529 (25 ปี)40ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
MFพิชิตพงศ์ เฉยฉิว28 สิงหาคม พ.ศ. 2525 (29 ปี)602ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
MFจักรพันธ์ แก้วพรม24 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 (24 ปี)111ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
MFจิรวัฒน์ มัครมย์7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 (26 ปี)30ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
FWเอกพันธ์ อินทเสน23 กันยายน พ.ศ. 2526 (28 ปี)101ธงชาติของไทย บีอีซี เทโรศาสน
FWธีรศิลป์ แดงดา6 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (23 ปี)4620ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
FWธีรเทพ วิโนทัย16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 (27 ปี)4715ธงชาติของไทย บางกอกกล๊าส
FWชาตรี ฉิมทะเล14 ธันวาคม พ.ศ. 2526 (28 ปี)61ธงชาติของไทย บางกอกกล๊าส

[แก้]ที่เคยถูกเรียกตัว

รายชื่อผู้ล่นที่เคยถูกเรียกตัวติดทีมชาติไทยในรอบ 12 เดือนล่าสุด:
ตำแหน่งผู้เล่นวันเกิด (อายุ)ลงเล่นประตูสโมสรถูกเรียกตัวครั้งล่าสุด
GKฉัตรชัย บุตรพรม4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 (25 ปี)00ธงชาติของไทย โอสถสภา เอ็ม–150 สระบุรีv. Flag of the Maldives มัลดีฟส์, 24 February 2012
DFณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ (กัปตัน)11 มกราคม พ.ศ. 2525 (30 ปี)653ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ดv. Flag of the Maldives มัลดีฟส์, 24 February 2012
DFณัฐพงษ์ สมณะ29 มิถุนายน พ.ศ. 2527 (27 ปี)391ธงชาติของไทย ชลบุรีv. Flag of the Maldives มัลดีฟส์, 24 February 2012
DFภานุพงษ์ วงค์ษา23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (28 ปี)170ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ดv. ธงชาติสหภาพพม่า พม่า, 16 July 2011
DFปรัชญ์ สมัคราษฎร์31 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (26 ปี)111ธงชาติของไทย บีอีซี เทโรศาสนv. ธงชาติสหภาพพม่า พม่า, 16 July 2011
DFไพฑูรย์ เทียบมา13 กันยายน พ.ศ. 2524 (30 ปี)80ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ดv. ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์, 24 August 2011
DFประทุม ชูทอง26 ตุลาคม พ.ศ. 2526 (28 ปี)10ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดv. ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์, 24 August 2011
DFธีราธร บุญมาทัน6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 (22 ปี)20ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดv. ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย, 11 November 2011
DFชลทิตย์ จันทคาม2 มิถุนายน พ.ศ. 2528 (27 ปี)300ธงชาติของไทย ชลบุรี2012 King's Cup
DFธนะศักดิ์ ศรีใส25 กันยายน พ.ศ. 2532 (22 ปี)00ธงชาติของไทย ทีโอที เอสซี2012 King's Cup
DFอภิเชษฐ์ พุฒตาล10 สิงหาคม พ.ศ. 2522 (32 ปี)71ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด2012 King's Cup
DFศุภชัย คมศิลป์18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 (32 ปี)100ธงชาติของไทย บางกอกกล๊าส2012 King's Cup
MFอภิภู สุนทรพนาเวศ18 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 (25 ปี)30ธงชาติของไทย โอสถสภา เอ็ม–150 สระบุรีv. Flag of the Maldives มัลดีฟส์, 24 February 2012
MFอดุลย์ หละโสะ19 กันยายน พ.ศ. 2529 (25 ปี)100ธงชาติของไทย ชลบุรีv. ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย, 15 November 2011
MFรังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค22 มกราคม พ.ศ. 2522 (33 ปี)311ธงชาติของไทย บีอีซี เทโรศาสนv. ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย, 15 November 2011
MFอาทิตย์ สุนทรพิธ19 เมษายน พ.ศ. 2529 (26 ปี)92ธงชาติของไทย วัวชน ยูไนเต็ดv. ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย, 2 September 2011
MFชาคริต บัวทอง8 กันยายน พ.ศ. 2528 (26 ปี)30ธงชาติของไทย อินทรีเพื่อนตำรวจv. Palestinian flag ปาเลสไตน์, 23 July 2011
MFปกเกล้า อนันต์4 มีนาคม พ.ศ. 2534 (21 ปี)20ธงชาติของไทย อินทรีเพื่อนตำรวจv. ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์, 24 August 2011
MFปิยพล บรรเทา8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (24 ปี)20ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ดv. ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย, 11 October 2011
MFสุรัตน์ สุขะ27 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (29 ปี)230ธงชาติของไทย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด2012 King's Cup
MFอดิศักดิ์ กลิ่นโกสุมภ์18 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (19 ปี)00ธงชาติของไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ด2012 King's Cup
MFชนาธิป สงกระสินธ์5 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (18 ปี)10ธงชาติของไทย บีอีซี เทโรศาสน2012 King's Cup
FWสุรชาติ สารีพิมพ์24 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 (26 ปี)50ธงชาติของไทย อินทรีเพื่อนตำรวจv. Flag of the Maldives มัลดีฟส์, 24 February 2012
FWศรายุทธ ชัยคำดี24 สิงหาคม พ.ศ. 2524 (30 ปี)4930ธงชาติของไทย อาร์มี่ยูไนเต็ดv. ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย, 11 October 2011
FWพิภพ อ่อนโม้22 เมษายน พ.ศ. 2522 (33 ปี)40ธงชาติของไทย ชลบุรีv. ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย, 15 November 2011
FWสมปอง สอเหลบ30 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 (25 ปี)91ธงชาติของไทย แบงค็อกยูไนเต็ด2012 King's Cup
FWสราวุธ มาสุข3 มิถุนายน พ.ศ. 2533 (21 ปี)20ธงชาติของไทย จามจุรี ยูไนเต็ด2012 King's Cup
FWกีรติ เขียวสมบัติ12 มกราคม พ.ศ. 2530 (25 ปี)142ธงชาติของไทย วัวชน ยูไนเต็ด2012 King's Cup
FWอานนท์ สังสระน้อย1 มีนาคม พ.ศ. 2527 (28 ปี)92ธงชาติของไทย นครราชสีมา2012 King's Cup

[แก้]ผู้เล่นที่โดดเด่นในอดีต

[แก้]คณะผู้ฝึกสอน

ตำแหน่งชื่อหมายเหตุ
ผู้จัดการทีมธงชาติของเยอรมนี วินฟรีด เชเฟอร์
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนธงชาติของไทย อาจหาญ ทรงงามทรัพย์
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนธงชาติของไทย สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตูธงชาติของเยอรมนี Stefan Brasas
ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกายธงชาติของเยอรมนี Pablo Sawicki

[แก้]ผู้สนับสนุน

ฟุตบอลทีมชาติไทยมีผู้สนับสนุนหลักประกอบด้วย กลุ่มบริษัท ปตท.เบียร์ช้าง, LG Electronics|แอลจี, แมคโดนัลด์ไนกี้, โรงพยาบาลกรุงเทพ

[แก้]ฟุตบอลทีมชาติไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ทีมชาติไทยได้มีการถูกอ้างถึงในหลายสื่อ เช่น ภาพยนตร์หมากเตะรีเทิร์นส, ในการ์ตูนญี่ปุ่นกัปตันซึบาสะ และการ์ตูนไทย มหาสนุก รวมไปถึงยังมีการดัดแปลงเป็นตัวละครในวีดีโอเกมชื่อดังหลาย ๆ เกม เช่น เกมชุดแชมเปียนชิพเมเนเจอร์ เกมชุดฟุตบอลเมเนเจอร์ เกมชุดฟีฟ่า และเกมวินนิงอีเลฟเวนภาค 2000 ยู-23 และล่าสุดกับเกมโปร อีโวลูชั่น ซ็อคเกอร์ 2009 นอกจากนั้นแล้ว โปรแกรมเมอร์ชาวไทยบางคนยังได้นำเกมบางเกมเหล่านี้ เช่น วินนิงอีเลฟเวน หรือแชมเปียนชิพเมเนเจอร์ มาดัดแปลงเพื่อเพิ่มทีมชาติไทย นักฟุตบอลไทย และรายการการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับทีมชาติไทยลงไปอีกด้วย

[แก้]หมากเตะรีเทิร์นส

ในภาพยนตร์หมากเตะรีเทิร์นส เรื่องราวของพงศ์นรินทร์ผู้ฝึกสอนฟุตบอลชาวไทยที่มีฝีมือควบคุมทีมระดับสูงกับน้าสาวเจ๊มิ่งที่ถูกหวยรางวัลที่ 1 โดยทั้งสองคนต้องการพาทีมฟุตบอลไทยไปแข่งฟุตบอลโลกโดยพร้อมที่จะใช้ค่าใช้จ่าย 192 ล้านบาทที่ได้มาจากรางวัล แต่ปรากฏว่าหลังจากคุยกับทาง "สมาพันธ์ฟุตบอลไทย" ทางสมาพันธ์ไม่เห็นด้วยไม่ยอมให้พงศ์นรินทร์มาเป็นผู้ฝึกสอน โดยได้แต่งตั้งให้ผู้ฝึกสอนชาวบราซิลมาควบคุมทีมแทน เจ๊มิ่งกับหลานชายเลยโมโหและเดินทางไป "ราชรัฐอาวี" ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน และสนับสนุนทีมฟุตบอลราชรัฐอาวีจนในที่สุดทีมฟุตบอลอาวีได้ชนะผ่านเข้ารอบจนถึงรอบสุดท้าย และต้องตัดสินกับทีมชาติไทยที่นำโดยผู้ฝึกสอนชาวบราซิล เพื่อจะชิงสิทธิที่จะไปร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลก

[แก้]กัปตันซึบาสะ

บุนนาค สิงห์ประเสริฐ ตัวละครการ์ตูนจากเรื่องกัปตันซึบาสะ เล่นตำแหน่งกองหลังทีมไทย และสโมสรแอทเลติโกมาดริดในสเปน
ในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องกัปตันซึบาสะ ทีมเยาวชนไทยได้แข่งขันกับทีมเยาวชนญี่ปุ่นในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชน โดยทีมไทยมีผู้เล่นหลัก สามพี่น้องนักตะกร้อ ฟ้าลั่น สกุล ชนะ กรสวัสดิ์ เล่นในตำแหน่งกองหน้า และมี บุนนาค สิงห์ประเสริฐ อดีตแชมป์มวยไทย ที่เล่นให้กับสโมสรแอทเลติโกมาดริดในสเปน ในตำแหน่งกองหลัง โดย เป็นกัปตันทีม และเป็นตัวกดดันซึบาสะจนเล่นไม่ออก ในครึ่งแรกนั้นทีมไทยนำทีมญี่ปุ่นถึง 4 ประตูต่อ 1 แต่ในช่วงครึ่งหลัง วากาบายาชิ และ อาโออิ ได้ลงเล่น ทำให้ญี่ปุ่นพลิกล็อกชนะไป 5 ประตูต่อ 4 (วากาบายาชิ ในขณะนั้น ถือว่าเป็นผู้รักษาประตูที่เหนียวมาก)
โดยนิตยสารอะเดย์ฉบับที่ 70 ได้มีการกล่าวถึงการ์ตูนกัปตันซึบาสะ ที่ทีมชาติญี่ปุ่นได้แข่งกับทีมชาติไทยนี้

[แก้]มหาสนุก

ในหนังสือการ์ตูนไทยมหาสนุก ได้เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอลทีมชาติไทย โดยเขียนเป็นเรื่องสั้นมีภาพประกอบโดย เฟน สตูดิโอ พิมพ์ลงในมหาสนุก ฉบับกระเป๋า เล่มที่ 25 เดือน กรกฎาคม 2533 ปักษ์แรก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ หนุ่มไทย 3 คน ที่ชอบเล่นฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ แต่เนื่องจากไม่มีเงินซื้อลูกฟุตบอล จึงได้ฝึกเล่นฟุตบอลกับลูกมะพร้าวอยู่เป็นเวลานาน จนมาวันหนึ่ง ผู้จัดการทีมชาติไทยได้ขับรถเที่ยวต่างจังหวัด และได้เห็นฝึมือของทั้งสามคนนี้ จึงซื้อลูกฟุตบอลมาให้ พร้อมกับชวนไปเล่นเป็นตัวแทนทีมชาติไทย จนในที่สุด ทีมชาติไทยได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย โดยในระหว่างการแข่งได้เจอกับคู่แข่งที่เก่งกาจไม่ว่านักเตะชื่อดัง อย่าง รุด กุลลิทฟาน บาสเทน, และ แกรี ลินิเกอร์ ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมไทยชนะ และผ่านไปถึงรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งในตอนจบนั้น ทีมชาติไทยกำลังจะทำประตูชนะการแข่งขัน แต่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น และโลกระเบิด ทำให้ทีมไทยไม่ได้แชมป์บอลโลกในครั้งนั้น

[แก้]การวิพากษ์วิจารณ์

ทีมชาติไทยเคยสร้างความอัปยศโดยพยายามแข่งกันแพ้กับทีมอินโดนีเซียในการแข่งขันไทเกอร์คัพ 1998 ที่โฮจิมินห์ซิตี ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541เนื่องจากทั้งสองทีมเข้ารอบรองชนะเลิศแน่นอนแล้ว แต่ผู้ชนะซึ่งจะเป็นที่หนึ่งของกลุ่ม A จะต้องเดินทางไปแข่งในรอบรองชนะเลิศกับทีมชาติเวียดนามที่ฮานอยในวันชาติเวียดนาม ครึ่งแรกต่างฝ่ายต่างพยายามไม่ยิงประตู แต่หลังจากมีการพูดคุยกันระหว่างกรรมการและโค้ช ครึ่งหลังจึงทำประตูได้ทีมละสองประตู จนกระทั่งใกล้หมดเวลา นักเตะของอินโดนีเซียยิงเข้าประตูตัวเอง ทีมชาติไทยจึงชนะไป 3 : 2 ประตู การแข่งขันนัดนี้ทำให้ทั้งสองทีมถูกปรับเป็นเงิน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ [4][5][6]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ สถิติฟุตบอลในโอลิมปิก 1956
  2. ^ บังยีแจงแม้วควักตังค์พาแข้งไทยบินซ้อมที่เรือใบ ข่าวจากสยามกีฬา
  3. ^ Thailand national team's top ten goalscorers The Football History Association of Thailand
  4. ^ The New York Times, Indonesia and Thailand Fined, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550
  5. ^ Game Theory and Business Strategy, Autogoal in the Tiger Cup, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550
  6. ^ 1998 Tiger Cup - Vietnam, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550

[แก้]ดูเพิ่ม

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

[แก้]เว็บไซต์สนับสนุนฟุตบอลไทย

สมัยก่อนหน้าฟุตบอลทีมชาติไทยสมัยถัดไป
เริ่มการแข่งขัน2leftarrow.pngอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(1996 (สมัยที่ 1))
2rightarrow.png1998 สิงคโปร์ ธงชาติของสิงคโปร์
1998 สิงคโปร์ ธงชาติของสิงคโปร์2leftarrow.pngอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
(2000 (สมัยที่ 2)
2002 (สมัยที่ 3))
2rightarrow.png2004 สิงคโปร์ ธงชาติของสิงคโปร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น